การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่างๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า โทรมาตร เป็นต้น
สำหรับตัวอย่างการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล็งเห็นปัญหาของภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทราบกันอย่างดี เช่นการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมมีอัตราสูงขึ้นเป็นลำดับในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา มีผลสืบเนื่องต่อระบบอุทกวิทยาของน้ำผิวดินและทรัพยากรของดิน ตลอดจนเร่งความเป็นเกลือของดิน ภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นความแห้งแล้ง น้ำท่วม มีผลกระทบต่อ วิถีชีวิตและเศรษฐกิจของภูมิภาค รวมทั้งมีภาวะคุกคามต่อการผลิตอาหารของภูมิภาค
ตลอดจนการใช้ที่ดินผิดประเภทการนำที่ดินที่เหมาะสมกับการเกษตรใช้เพื่ออุตสาหกรรมและเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งอยู่อาศัยทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นเป็นปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจ ทางศูนย์จึงมี “วัตถุประสงค์” เพื่อที่จะ
1. หาแนวทางบูรณาการ ในการพัฒนาฐานความรู้ด้านทรัพยากร ภัยพิบัติ และการใช้ที่ดินด้วย Remote Sensing และ GIS
2. เพื่อสร้างสมรรถนะของเทคโนโลยีระดับสูงทางด้าน Remote Sensing และ GIS
3. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีในการสนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนหน่วยงานในภูมิภาคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เครื่องมือที่ทางศูนย์ใช้ คือ
ภาพถ่ายดาวเทียม
ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมหลายประเภทใช้ในโครงการ เพื่อได้มาซึ่งข้อมูลเชิงพื้นที่ของโลก ได้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat, SPOT Ikonos, Quick bird ในรูปแบบเชิงตัวเลขซึ่งให้บริการโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA
เครื่องมือในการวิเคราะห์
การวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเป็นเทคโนโลยีระดับสูง ต้องการซอฟร์แวร์ด้านระบบประมวลผลภาพ ด้านวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ที่ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ราคาสูง จากการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอก ปัจจุบันศูนย์ฯ มีสมรรถนะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นตลอดจนการสร้างโมเดลเชิงพื้นที่ ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ทันสมัยมีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของมหาวิทยาลัย และระบบทางด่วนเชิงตัวเลขเพื่อส่งข้อมูลจากสถานีรับภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้สนับสนุนจาก GISTDA
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ เราได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากมาย ดังตัวอย่างที่ได้นำเสนอไปข้างต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทางศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ได้ทำการนำเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติของภาคตะวันอออกเฉียงเหนือ เพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาป่าไม้ ดินไม่มีคุณภาพ ภัยพิบัติต่างๆ ปัญหาความแห้งแล้ง เป็นต้น เพื่อช่วยแก้ไขให้คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และหวังว่าหลายๆ คนที่เข้ามาอ่านจะได้นำเอาความรู้เหล่านี้ไปใช้เพื่อพัฒนาพื้นที่ของตนเองและต่อยอดองค์ความรู้ต่อไป
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://gecnet.kku.ac.th/about/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น